วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

28 กันยายน 2555

อาจารย์ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการที่รัฐบาลแจกแท็บเล็ตให้เด็กประถมศึกษาปีที่ 1 ดังหัวข้อต่อไปนี้
1.ข้อดีข้อเสียของการใช้แท็บเล็ต
2.ผลกระทบของการใช้แท็บเล็ต
3.ประโยชน์ของแท็บเล็ต
                                        
                                      




















24 สิงหาคม 2555

อาจารย์ให้ดูนิทาน เรื่องช้างน้อยอัลเฟรด


เรื่องย่อ         อัลเฟรดเป็นช้างที่มีงวงยาวมากอัลเฟรดรู้สึกอายที่ตนเองมีงวงยาวกว่าช้างตัวอื่นๆ จึงพยายามซ่อนงวงของตนวันหนึ่งอัลเฟรดได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ติดอยู่บนกระดานลื่น อัลเฟรดได้ใช้งวงช่วยเด็กผู้หญิงลงมา สัตว์อื่นๆ พากันชื่นชมอัลเฟรด ตั้งแต่นั้นมาอัลเฟรดก็อยู่อย่างมีความสุขแม้ว่าตนเองจะไม่เหมือนใคร


















-แล้วออาจารย์ก็ให้ฟังเพลงเกาะสมุยฟังแล้วรู้สึกอย่างไร
1.บอกถึงความสวยงามตามธรรมชาติของเกาะ
2.ชักชวยให้คนไปเที่ยว
3.ฟังแล้วร้สึกสะบาย ผ่อนคลาย อยากไปเที่ยว
4.ที่เกาะสมุยมีสถานที่เที่ยวมากมาย





















(อาจารย์สอนชดเชย) วันที่ 20 กรกฎาคม 2555

อาจารย์สอนเรื่อง สือโทรทัศน์ ให้นักศึกษาไปดูสอโทรทัศน์แล้วมาเล่าให้เพื่อนๆฟัง

-ประชาสัมพันธ์

         คำว่า การประชาสัมพันธ์ แปลมาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ Public Relations โดยคำว่า Public แปลเป็นภาษาไทยคือ ประชา ซึ่งหมายถึง หมู่คน และคำว่า Relations แปลเป็นภาษาไทยคือ สัมพันธ์
ซึ่งหมายถึง การผูกพัน ดังนั้นคำว่าการประชาสัมพันธ์เมื่อแปลตามตัวอักษร ก็จะได้ความหมายว่า “การเกี่ยวข้องผูกพันกับหมู่คน”

-ตัวอย่าง ประชาสัมพันธ์
             
               วันนี้เวลา13.00-15.30น.ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมมีตลาดนัดไฮโซมาตั้งที่ใต้ตึก 28 เดินชม เดินชิม เดินเลื่อกสินค้าที่ถูกใจกลับบ้านได้คนะคะ ไม่ซื้อไม่ว่ากันค่ะ

-การโฆษณา
 
     -การโฆษณามาจากภาษาอังกฤษว่า  Advertising มีรากศัพท์จาก  ภาษาลาติน  หมายถึง การหันเหจิตใจ ต้นศัพท์ของ
     -การโฆษณา มาจากภาษา สันสกฤตว่า “โฆษ”  แปลว่า กึกก้อง      -การโฆษณา  หมายถึง  การสร้างความสนใจไม่ว่าวิธีใดก็ตาม  เพื่อจูงใจหรือสนับสนุนให้เกิดความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการ

-การเล่าข่าว
        
          คือเหตุการณ์ ข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็นที่ได้รับการรายงานเป็นสิ่งที่คนทั่วไปให้ความสนใจ
เพราะถ้าเหตุการณ์ที่ถึงแม้ว่าจะมีคนสนใจมากเพียงใดแต่ไม่ได้รับการรายงานก็ไม่ถือว่าเป็นข่าว หรือว่าข่าว จะเป็นสิ่งใหม่ๆ หรือขอ้มูลใหม่ๆ
ที่มีเนื้อหาสาระและประโยชน์ แต่ยังไม่เป็นที่รู้จัก

-องค์ประกอบของข่าวมีดังนี้

1.ความรวดเร็ว ข่าวจะต้องเป็นเหตุการณ์ที่มีความรวดเร็วในการนำเสนอและเป็นเหตุการณ์ที่มีความทันสมัย สดใหม่ ทันต่อเหตุการณ์
2. ความใกล้ชิด เพราะข่าวที่มีความใกล้ชิดกับตัวผู้อ่านมากเท่าใดผู้อ่านก็จะให้ความสำคัญและความสนใจต่อข่าวนั้นมากยิ่งขึ้น
3.ความสำคัญหรือความเด่นของข่าว อยู่ที่ว่าข่าวนั้นจะเด่นในเรื่องใด อาจเป็นเรื่องของ บุคคลที่มีความเด่น ฐานะของผู้เป็นข่าว เวลาหรือสถานที่ที่เป็นข่าวก็สามารถมีความสำคัญต่อข่าวด้วย
4.ความกระทบกระเทือน คือการมีความใกล้เกี่ยวข้องกับผู้อ่านโดยตรงหรือมีผลกระทบต่อคนจำนวนมาก
5.ความมีเงื่อนงำ คือการค้นหาข้อเท็จจริง การมีปมในข่าว เงื่อนงำ น่าสนใจ น่าติดตาม
6.ความแปลก อาจจะเป็นในเรื่องของ คนในข่าว สิ่งของหรืออื่นๆ ที่สามารถเป็นข่าวได้นั้นต้องมีความแปลกเป็นที่สนใจของผู้อ่าน
7.ความขัดแย้ง อาจเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล ประเทศหรือระหว่างประเทศ เช่นในปัจจุบันคือมีความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่มพรรคไทยรักไทยกับพรรคประชาธิปปัตย์ หรือความขัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยเรา
8.อารมณ์ เป็นสิ่งที่สะเทือนอารมณ์คนอ่าน เมื่ออ่านแล้วรู้สึกคล้อยตามข่าว เช่น ข่าวการตาย การสูญเสีย รู้สึกเสียใจตาม หรือข่าวชีวิตรันทด
9.ความก้าวหน้า จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวเทคโนฯ ใหม่ๆ หรือข่าววิชาการการพัฒนา

-นอกจากนี้แล้วการที่จะเป็นข่าวได้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติที่ถูกต้องดังนี้

1.ความถูกต้อง ข่าวต้องชัดเจน มีความถูกต้องเป็นความจริงเท่านั้น
2.ความสมดุล ข่าวต้องมีความเป็นกลางไม่ลำเอียง
3.การไม่เอาตัวเข้าไปพัวพันกับการรายงานข่าว
4.ความชัดเจนและกระทันรัด เนื้อหาของข่าวจะไม่กำกวม สองแง่สามง่าม มีความชัดเจนอ่านแล้วรู้แล้เข้าใจทันที
5.เวลา ข่าวต้องทันสมัย รวดเร็ว สด ใหม่ อยู่เสมอๆ

 
                                                        
                                                             -ตัวอย่างข่าว


17สิงหาคม 2555

อาจารย์ให้ทำกิจกรรม


ให้วาดรูปคำรวม

                        
                            

   


 
       










เรือไบ

 

 

 

ของรักของหวง

อาจารย์ให้นำสิ่งของที่เรารักและหวงที่สุดมาพร้อมบอกเหตุผลว่าทำไม
    ของที่ฉันหวงที่สุก็คือกระเป๋าเพราะว่าในกระเป๋ามีของที่จำเป็นทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็น กระเป๋าตัง กุญแจบ้านโทรศัพท์ เป็นต้น

อาจารย์บอกวถุประสงค์ในการทำกิจกรรมของรักของหวง

1.เป็นการสะท้อนความรู้สึกโดยใช้ภาษาในการแสดงความรู้สึก
2.เพื่อให้เด็กมีประสบการด้านการพูด
3.เด็กได้ใช้ภาษาในการสือถึงความรู้สึก
4.ทำให้เด็กมีความเชื่อมั่น กล้าพูด กล้าคิด




 อาจารย์ให้นักศึกษาโฆษณาสินค้าที่มีอยู่รอบตัวเรามา 1 ชิ้น
บอกคุณค่า ราคา สิ่งที่ฉันนำมาขายก็คือปากกาเพราะปากกามีประโยชน์มกใช้ ในการเขียน ระบายความรู้สึก

อาจารย์บอกวัตถุประสงค์ของการโฆษณา

1.วิธีการพูด
2.ทำให้มีประสบการในการพูด
3.พูดถึงคุณค่าและรู้ประโยชน์ของสินค้านั้นๆ
4.โน้มน้าวในการพูดให้คนอื่นสนใจสินค้า
5.เด็กได้คิดวิเคราะก่อนที่จะพูด
6.เด็กได้คิดและสือออกมาเป็นคำพูด
7.ให้เด็กกล้าพูด กล้าแสดงออก


27 กรกฎาคม 2555

ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานที่ได้ไปสัมภาษน้องๆ

-กลุ่มของบุ๋ม น้องชื่อตุ๊กตาอยู่ อนุบาล 1 อายุ3ขวบ หนังสือนิทาน  เรื่องพ่อค้าเกลือกับลา

-กลุ่มเกด น้องอยู่อนุบาล 3 โรรงเรียนสาธตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม CD เรื่องโดเรมอน

-กลุ่มพลอย น้องข้าวปัน CD เรื่องทอมแอนเจอร์รี่ ตอนหัศจรรย์วันพ่อ

-กลุ่มนิด น้องปาล์ม ป.1 อายุ7ขวบ นิทานเรื่อง ระบำผึ้ง

-กลุ่มส้ม น้องกัสจัง อนุบาล2เรื่องปืนลูกหิน

-กลุ่มปริม น้องปาล์ม ป.1อายุ7ขวบ CD เรื่องฮูโทส ป่ามหัศจรรย์วันสดในกันเถอะ
                                                           
นิทานเด็กปฐมวัย

(เด็กเลี้ยงแกะ)


นิทานเด็กปฐมวัยเรื่อง

(กระต่ายกับเต่า) 

 


13 กรกฎาคม 2555

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองานที่ทำเป็นวีดีโอมานำเสนอและวิเคราะห์พัฒนาการของแต่ละอายุของเด็ฏปฐมวัยที่เราได้ไปสัมภาษณ์มา แต่ละวัยมีพัฒนาการด้านภาษาอย่างไร

พัฒนาการด้านภาษา      
 แรกเกิด-1 เดือน - ร้องไห้ หยุดฟังเสียง, ทำเสียงในคอ
      
 อายุ 2 เดือน - ฟังเสียงคุยด้วยแล้วหันหาเสียง
      
อายุ 4 เดือน - ส่งเสียงอ้อแอ้ โต้ตอบ หัวเราะ ส่งเสียงแหลมรัว เวลาดีใจ สนุก
      
 อายุ 6 เดือน - หันหาเสียงเรียก เล่นน้ำลาย ส่งเสียงหลายเสียง
      
อายุ 9 เดือน - ฟังรู้ภาษาและเข้าใจสีหน้าท่าทางได้ เปล่งเสียงเลียนเสียงพยัญชนะ แต่ไม่มีความหมาย
      
อายุ 12 เดือน - เรียกพ่อ แม่ หรือพูดคำโดดที่มีความหมาย 1    คำ ทำตามคำสั่งที่มีท่าทางประกอบได้
      
       การส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา
 
แรกเกิด-6 เดือน :
         
ควรมีการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดและมีการพูดคุยส่งเสริมให้มีพัฒนาการทางภาษาอย่างเหมาะสมตั้งแต่แรกหลังเกิด โดยเฉพาะขณะที่ให้การดูแลเรื่องทั่วๆไปในชีวิตประจำวัน เด็กทารกมักมีความสนใจเสียงที่ค่อนข้างแหลม เสียงสูงๆต่ำๆ ซึ่งหากผู้เลี้ยงดูจะทำน้ำเสียงให้มีลักษณะแตกต่างกันไปบ้างตามสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ก็จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ความหมายของการสื่อสารที่บอกถึงอารมณ์ความรู้สึกแตกต่างกันไปของผู้พูด อย่างไรก็ตามการใช้ภาษาเด็กพูดคุยกับเด็กควรจะค่อยๆลดลงภายหลังอายุ 6 เดือน การสื่อสารด้วยภาษาอย่างที่ใช้กับเด็กโตหรือผู้ใหญ่เพิ่มมากขึ้นจะค่อยๆช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาในระยะต่อไปอย่างดี
      

 อายุ 7-12 เดือน :
 

 1. ควรพูดคุยทำเสียงเล่นกับเด็กและพูดเป็นเสียงของคำที่มีความหมาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคำเรียกพ่อหรือแม่หรือผู้เลี้ยงดูที่ใกล้ชิดกับเด็ก
      
 2. พูดสอนหรือบอกให้เด็กทำสิ่งต่างๆอย่างง่ายๆพร้อมกับมีกิริยาทำท่าประกอบควบคู่กันไป จะช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งที่ต้องการผู้ใหญ่ต้องการสื่อสารได้ง่ายขึ้น
      
 3. พ่อแม่อาจไม่จำเป็นต้องพูดสอนหรือบอกเฉพาะคำศัพท์เดี่ยวๆคำใดคำหนึ่งเท่านั้น การพูดโดยมีคำขยายเพิ่มเติมก็จะเป็นการสอนให้เด็กเข้าใจความหมายของภาษาที่พูดคุยมากขึ้นแม้อาจจะยังพูดไม่ได้ทั้งหมด เช่น พ่อมา หมาเห่า เป็นต้น
      
4. เมื่อเด็กพูดคุยด้วยภาษาเด็กที่แม้จะฟังไม่เข้าใจ แต่ถ้าผู้เลี้ยงดูสามาถคาดเดาได้จากสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ผู้เลี้ยงดูควรพูดคุยเป็นคำที่มีความหมายกับเด็กเพื่อเป็นแบบอย่างสอนให้เด็กเข้าใจต่อไป
      
5. ผู้เลี้ยงดูควรพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เด็กสนใจ พูดบอกหรืออธิบายอย่างสั้นๆและคอยสังเกตการตอบสนองของเด็ก
      
       การใช้หนังสือนิทานหรือรูปภาพ จะช่วยเพิ่มคำศัพท์ให้แก่เด็กได้มากและเพิ่มทักษะความเข้าใจภาษาที่มีในสื่อเหล่านั้น ตลอดจนเป็นการปลูกฝังให้เด็กรักการอ่าน อย่างไรก็ตามผู้เลี้ยงดูไม่ควรตั้งใจสอนให้เด็กอ่านหรือท่องจำหนังสือ หรือตัวเลขมากเกินไปเพราะการที่เด็กท่องจำได้ตามที่ถูกสอนไม่ได้หมายความว่าเด็กจะมีความสามารถในการอ่านระยะถัดไปได้ดีกว่าเด็กอื่นในวัยเดียวกัน ความเข้าใจทางภาษาที่แตกฉานและสามารถใช้ภาษาพูดได้เป็นอย่างดีจะเป็นรากฐานที่สำคัญต่อความรู้ความเข้าใจในการอ่านหรือเขียนมากกว่าเน้นท่องจำอย่างเดียว ขณะอ่านหรือดูหนังสือกับเด็กควรเปิดโอกาสให้เด็กหยิบจับหรือหัดเปิดหนังสือเองบ้าง

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

6 กรฎาคม 2555 
 

                 อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มละ4คนให้ไปสัมภาษเด็กอายุ 2,3,4,5,6,7,และ8ขวบกลุ่มดิฉันได้เด็กอายุ 5 ขวบ พร้อมถ่ายรูป ถ่าย VDO แล้วออกมานำเสนอ



2 ขวบ

 
3 ขวบ
 

 4 ขวบ

 5 ขวบ  (กลุ่มของดิฉัน)

 6 ขวบ


7 ขวบ


8 ขวบ 
              
22 มิถุนายน 2555

 อาจารย์สอนเกี่ยวกับความหมายของภาษาแยกออกมาเป็นหัวข้อหลักได้ดังนี้

  1.การจัดประสบการ

                   การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ความสำคัญของการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย การจัดประสบการณ์ตามแผนการจัดประสบการณ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาประถมศึกษาแห่งชาติ (2540 : 24) มีดังนี้คือ เป็นการจัดโดยยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่เด็กอายุ 3 - 6 ปี ทั้งเด็กปกติ เด็กด้อยโอกาสและเด็กพิเศษเพื่อให้เด็กพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ผ่านกิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมกับวัย และความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจ

  2.ภาษา

  ความหมายของภาษา
               
          คำว่า “ ภาษา” เป็นคำภาษาสันสฤต แปลตามรูปศัพท์หมายถึงคำพูดหรือถ้อยคำ ภาษาเป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อความหมายให้สามารถสื่อสารติดต่อทำความเข้าใจกันโดยมีระเบียบของคำและเสียงเป็นเครื่องกำหนด ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้ความหมายของคำว่าภาษา คือ เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูดถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน

ภาษา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

            1. ภาษาที่เป็นถ้อยคำ เรียกว่า “ วัจนภาษา” เป็นภาษาที่ใช้คำพูดโดยใช้เสียงที่เป็นถ้อยคำสร้างความเข้าใจกัน นอกจากนั้นยังมีตัวหนังสือที่ใช้แทนคำพูดตามหลักภาษาอีกด้วย


             2. ภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำ เรียกว่า “ อวัจนภาษา” เป็นภาษาที่ใช้สิ่งอื่นนอกเหนือจากคำพูดและตัวหนังสือในการสื่อสาร เช่น การพยักหน้า การโค้งคำนับ การสบตา การแสดงออกบนใบหน้าที่แสดงออกถึงความเต็มใจและไม่เต็มใจ อวัจนภาษาจึงมีความสำคัญเพื่อให้วัจนภาษามีความชัดเจนสื่อสารได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากท่าทางแล้วยังมีสัญลักษณ์ต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจ อีกด้วย

องค์ประกอบของภาษา

1.เสียง
2.พยางค์และคำ
3.ประโยค
4.ความหมาย

 

3.เด็กปฐมวัย

                   เด็กปฐมวัย คือ เด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปีบริบูรณ์ การอบรมและเลี้ยงดูแก่เด็กปฐมวัยมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเด็กวัยนี้ต้องการการเรียนรู้
ในสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้าน จากบิดา มารดา คนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดพัฒนาการที่เป็นรากฐานของ บุคลิกภาพ อุปนิสัย และการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจ สมอง สติปัญญา ความสามารถ เพราะเด็กในช่วงตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์แม่จนถึง 4 ปี
ระบบประสาทและสมองจะเจริญเติบโตในอัตราสูงสุด (ประมาณ 80 % ของผู้ใหญ่) การอบรมปลูกฝังสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านให้แก่เด็กปฐมวัยได้เจริญเติบโตเต็มศักยภาพในช่วงอายุนี้ จะเป็นรากฐานที่ดีจะให้เขาเติบโตเป็นเยาวชนและพลเมืองที่ดี เฉลียวฉลาด คิดเป็น ทำเป็น และมีความสุข เด็กปฐมวัยจะมีชีวิตอดและเติบโตได้ก็ด้วยการพึ่งพาพ่อแม่ และผู้ใหญ่ที่ช่วยเลี้ยงดู ปกป้องจากอันตราย หากผู้ใหญ่ให้ความรักเอาใจใส่ใกล้ชิด อบรมเลี้ยงดูโดยเข้าใจเด็กพร้อมจะ
ตอบสนองความต้องการพื้นฐานที่เปลี่ยนไปตามวัยได้อย่างเหมาะสมให้สมดุลย์กันทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา และสังคมแล้ว เด็กจะเติบโตแข็งแรง แจ่มใส มีความมั่นคงทางใจ รู้ภาษา ใฝ่รู้ และใฝ่ดี พร้อมที่จะพัฒนาตนเองในขั้นต่อไป ให้เป็นคนเก่งและคนดีอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขและมีประโยชน์

                      

                      โปรแกมช่วยสอนเด็ฏปฐมวัย



วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

15 มิถุนายน 2555

อาจารย์ให้ย้ายไปเรียนที่ห้อง 443 มาห้อง 224  เรียน อ.จินตนา สุขสำราญ วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งในคาบนี้อาจารย์ได้สอนการทำบล็อกการตกแต่งให้บล็อกสวยงามน่าอ่าน

     สือสำหรับเด็กปฐมวัย